เมื่อเกิดมาบนโลกใบ
นี้จนเริ่มจำความได้จวบจนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี ความทรงจำเก่าๆ
ที่ไม่เคยจะเลือนหายไป แม้กระทั่งปัจจุบันความรู้สึกนั้นยังคงหอมกรุ่นอยู่ในหัวใจ
เหมือนดอกมะลิที่บานตลอดเวลา ไม่มีวันที่จะเฉาหรือสูญสลายไปกับกาลเวลา
คล้ายน้ำชุ่มฉ่ำคลายร้อนเมื่อยามกระหาย
ความรู้สึกนั้นมันช่างเป็นอะไรที่พิเศษเกินคำบรรยาย แต่น้ำใดเล่าจะหอมหวานชุ่มฉ่ำอบอุ่นในจิตใจได้เท่ากับน้ำนมที่กลั่นด้วยใจ
ของแม่ที่ลูกนี้ได้ดื่มกินจนเติบใหญ่
อ้อมกอดที่ถนุถนอมสายใยรักที่เชื่อมโยงระหว่างกันและกัน
บอกถึงความรักอันสูงสุดที่ใครจะได้รับ
จวบจนก้าวแรกแห่งชีวิตด้วยแรงแห่งน้ำนมอันบริสุทธิ์ สองเท้าเล็กๆก้าวย่างอย่างไม่มั่นใจล้มลุกคลุกคลานตลอดทางช่างยากลำบากยิ่ง
นัก ไม่นานสองมือที่อบอุ่นประคับประคองร่างกายที่บอบบางให้ลุกขึ้นยืนอีกครั้ง
แล้วก้าวสำคัญก็ผ่านพ้นไปด้วยดี เหนื่อยเหลือเกิน ยามหลับใหลน้ำนมที่ดื่มกิน
สองมือโบกพัดเอาความเย็นให้คลายร้อนตลอดเวลา ยอมอดหลับอดนอน
คอยปกป้องคุ้มครองไม่ให้โดนทำร้ายจากสิ่งใด
จนกระทั่งเด็กน้อยเติบใหญ่ซุกซนตลอดเวลา ผีเสื้อโบกโบยบินไปตามทุ่งหญ้า
ท้องนาอันกว้างใหญ่ หิ้งห้อยกลางคืนส่องแสงรำไร
สองปากพร่ำเตือนสอนสั่งให้ระวังอันตราย ยกกิ่งไม้เล็กๆคอยไล่ให้กลับบ้าน
หิวเหลือเกิน ข้าวร้อนๆ น้ำพริกหอมกรุ่น ฟักแฟงแตงกวาเต็มจานน่ากินจนอิ่มท้อง
แม่จ๋าเหนื่อยไหม หยาดเหงื่อที่ไหลตามหน้าพลันตกลงพื้น
แต่รอยยิ้มก็ยังไม่หายไปจากใบหน้าที่งดงามในสายตาของลูกคนนี้
กาลเวลาผ่านไปช่างรวดเร็วเหลือเกิน
จนวันนี้ดูเหมือนอะไรๆจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ร่างกายที่แข็งแรง
เนื้อหนังที่เปล่งปลั่ง เริ่มเหี่ยวย่น เริ่มอ่อนแรงลงไปทุกที
แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงอยู่และไม่เคยเปลี่ยนแปลงได้เลย คือ
ความห่วงใยที่มีให้ต่อกันเสมอ
เหมือนเป็นโซ่แห่งความผูกผันคล้องใจทั้งสองดวงไว้ให้เป็นดวงเดียว
ถึงเวลาแล้วหนอที่ลูกต้องออกไปเผชิญโลกภายนอกทำงานหาเลี้ยงตัวเอง คำบอกกล่าว
ดูแลตัวเองให้ดีนะลูก ยังคงวนเวียนอยู่ในใจของลูกเสมอ
ลูกไม่เคยลืมคำที่พร่ำสอนสั่งที่แม่บอกไว้ เหนื่อยกายเหนื่อยใจเมื่อยล้าสักเพียงใด
ขอดูรูปของแม่ก็พอมีแรงสู้ต่อไปในวันข้างหน้า แม้อนาคตยังไม่รู้เป็นเช่นไร
ก้าวสำคัญและก้าวแรกที่แม่มอบให้นั้น จะคอยเป็นพลังให้ลูกก้าวต่อไปในอนาคต
หยดหนึ่งน้ำนมขาวบริสุทธิ์ที่แม่กลั่นออกมาจากใจที่อยู่ในเลือดของลูกมิเคย
เจือจางสูญสลายไปแต่อย่างใด แต่มันยังคงหมุนเวียนภายในร่างกายของลูกอยู่เสมอ
คอยเป็นสิ่งเตือนใจในพระคุณที่ล้นเหลือ ที่ทำให้รู้สึกอบอุ่นยามที่ได้คิดถึงจนถึงทุกวันนี้
วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ
ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดช่วงฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น
"เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี เรียกว่า "ปุริมพรรษา"
ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เรียกว่า "ปัจฉิมพรรษา" เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า "สัตตาหะ" หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด
สำหรับข้อยกเว้นให้ภิกษุจำพรรษาที่อื่นได้ โดยไม่ถือเป็นการขาดพรรษา เว้นแต่เกิน 7 วัน ได้แก่
1.การไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย
2.การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้
3.การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด
4.หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขาได้
นอกจากนี้หากระหว่างเดินทางตรงกับวันหยุดเข้าพรรษาพอดี พระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆ องค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่า ที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้ง ถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีก เพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้
"เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี เรียกว่า "ปุริมพรรษา"
ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เรียกว่า "ปัจฉิมพรรษา" เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า "สัตตาหะ" หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด
สำหรับข้อยกเว้นให้ภิกษุจำพรรษาที่อื่นได้ โดยไม่ถือเป็นการขาดพรรษา เว้นแต่เกิน 7 วัน ได้แก่
1.การไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย
2.การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้
3.การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด
4.หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขาได้
นอกจากนี้หากระหว่างเดินทางตรงกับวันหยุดเข้าพรรษาพอดี พระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆ องค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่า ที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้ง ถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีก เพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้
วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)